Day: August 17, 2021

ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยขั้นตอนการดูแลผู้ป่วย

เมื่อพูดถึงโรคที่แพร่ระบาดกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันและมีความเป็นอันตรายเป็นอย่างมากก็คงจะหลีกหนีไม่พ้นโรค Covid-19 โดยก่อนหน้านี้ก็มีโรคที่สามารถเกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปและนับว่าเป็นโรคที่สามารถคร่าชีวิตผู้คนในหลาย ๆ ประเทศไปในปริมาณที่มากก็คือโรคเอดส์และโรคมะเร็ง ซึ่งลักษณะการติดเชื้อของไวรัสนั้นจัดเป็นเชื้อไวรัสที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาแต่ต้องทำการผ่าตัดเท่านั้น อีกทั้งยังมีระยะของการลุกลามจากการติดเชื้อจากระยะเริ่มต้นไปถึงระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นระยะเวลาของการทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์จนเกิดความอ่อนแอไม่สามารถต่อต้านเชื้อเวลาอีกต่อไป ดังนั้นผู้ที่ป่วยที่ป่วยในระยะสุดท้ายนี้จึงมีโอกาสรอดที่เป็นไปได้อย่างน้อยมาก สิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นมีความสำคัญอย่างมากเพราะเนื่องจากเป็นตัวช่วยที่จะทำให้สร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยแล้ว ยังสามารถทำให้ผู้ป่วยนั้นมีความประทับใจก่อนที่จะลาลับดับโลกนี้ไปนั่นเอง  วิธีการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะเป็นการดูแลที่ทำให้ผู้ป่วยนั้นสามารถที่จะยอมรับความจริงและจากไปได้อย่างสบาย หรือที่เรียกกันว่า “ตายดี” นั้นเอง ซึ่งการทำให้ผู้ป่วยยอมรับและรับรู้ความปกติของชีวิต มีเกิดก็ต้องมีดับ การตายเป็นเรื่องปกติและธรรมดาเป็นอย่างมาก อีกทั้งโรคในระยะสุดท้ายนั้นมีโอกาสที่จะหายและกลับมามีชีวิตนั้นน้อยมาก ดังนั้นถ้าสามารถทำให้ผู้ป่วยเข้าใจในจุดนี้ได้ว่าการตายเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยจะไม่มีความวิตกกังวลหรือมีความกลัวต่อความตายอีกต่อไปเมื่อผู้ป่วยสามารถคิดพิจารณาและใช้เวลาที่เหลืออยู่อย่างมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ซึ่งระยะเวลาที่เหลือนั้นก็สามารถทำให้ผู้ป่วยสามารถทิ้งพินัยกรรม มีเวลาบอกลาลูกหลานหรือว่าทำในสิ่งที่ตนอยากทำก่อนตาย โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เองจะทำให้ผู้ที่ป่วยนั้นมีความสุขถึงแม้เหลือเวลาการใช้ชีวิตน้อยลงก็ตามที ในโลกของความเชื่อนั้นถ้าทุกคนตายในขณะที่ยังมีความทุกข์วิญญาณของผู้ตายนั้นจะมีความทุกข์ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นจึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติและดูแลเป็นอย่างยิ่ง  การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง  การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการดูแลทางด้านสภาพจิตใจของผู้ป่วยนั้นเอง ไม่ว่าผู้ป่วยต้องการทำอะไรก่อนที่ตนเองนั้นจะเสียชีวิตหรืออยากจะทำอะไรที่มีประโยชน์ต่อสังคม ทางทีมผู้ดูแลก็จะดำเนินการแทนให้ แม้แต่กรณีที่เกิดอาการโคม่าก็จะมีทีมแพทย์ ทีมพยาบาลคอยช่วยเหลือเท่าที่ทำได้แต่ก่อนหน้านั้นก็จะต้องทำการตกลงทั้งตัวของผู้ป่วยและญาติให้ตัดสินใจจะยื้อชีวิตในระดับไหน เพื่อเป็นการทำให้ผู้ป่วยนั้นจากไปอย่างสงบ ไม่เกิดการทรมานนั่นเอง   ...